ต่อจากตอนที่แล้ว
มาเรียนรู้เทคนิคการฝึกการฟังอย่างลึกซึ้ง ใน 2 ข้อสุดท้าย
3.การแยกแยะ
เมื่อมีความคิดใดๆเกิดขึ้นให้มองลงไปแล้วทำการแยกแยะ
ที่ผ่านมาเมื่อฟังอะไรก็ตาม ในทันทีจะเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบโดยอัตโนมัติ
ซึ่งโดยมากก็มาจากความทรงจำเดิมๆของเรา ซึ่งมันบรรจุแบบแผนการตอบสนองเดิมๆไว้
เช่น พอได้ฟังเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจ
ก็จะรู้สึกน้อยใจ ไม่พอใจ หรือเสียใจในทันที
เราจึงไม่ได้โอกาสที่จะมีการตอบสนองต่อการฟังในรูปแบบใหม่ๆเลย
ดังนั้นในการฝึกการฟังให้สังเกตว่า “เรามีการตัดสินผู้คนและสิ่งต่างๆรอบตัวอยู่เสมอ”
ฟังเสียงในหัวที่เราพูดวิพากษ์วิจารณ์สิ่งต่างๆเหล่านั้น
แล้วถามตัวเอง ด้วยการแยกแยะว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆคืออะไร
สิ่งที่เราตีความไปด้วยตนเองคืออะไร ในที่สุดเรามีปฏิกิริยาตอบสนองไปอย่างไร “จงระลึกไว้ว่าสิ่งที่เป็นความจริงกับสิ่งที่เราตีความ
มันแยกออกจากกันได้เสมอ”
4.วางเฉยและช้าลง
ฝึกที่จะวางเฉย และช้าลงในการตอบโต้บทสนทนาอย่างทันทีให้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ
และนานขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปรับเปลี่ยนระบบการโต้ตอบอัตโนมัติของร่างกาย
ที่ผ่านมา ในหลายๆครั้ง
เรามักจะกลับมาเสียใจในสิ่งที่เราพูดหรือกระทำลงไปโดยไม่ทันยั้งคิด
ดังนั้นให้ใช้การสนทนาและการตั้งคำถามกับตัวเอง
เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น
มากกว่าจะไปสนใจว่าเราต้องตอบโต้อย่างไรเพื่อรักษาจุดยืนของเรา หรือแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เราเชื่อว่าถูก
อย่างไรก็ตาม
การฝึกทักษะการฟังในวงไดอะล็อคที่เรากำลังทำอยู่นี้ ถือเป็นเพียงสนามซ้อมเท่านั้น
เราไม่จำเป็นต้องทำให้ทุกอย่างถูกต้อง ดีพร้อมหรือสมบูรณ์แบบ
หากแต่เมื่อได้มีโอกาสฝึกฝนมากเท่าใด เราก็จะสามารถพัฒนาทักษะการฟังของเราได้มากขึ้นเท่านั้น
ประสบการณ์ที่ได้ในวงสนทนา
นั่นก็คือการเรียนรู้นอกตำรา ที่ไม่สามารถจะนั่งอ่านจากหนังสือแล้วทำความเข้าใจได้
หากแต่เป็นปัญญาปฏิบัติที่จะได้จากการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์จริงเท่านั้นและไม่ช้าไม่นานเราก็จะเห็นผลลัพธ์และความเปลี่ยนแปลงในตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อนั้นเราก็จะสามารถรับฟังผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากอคติใดๆ
ในตอนต่อๆไป
จะได้แนะนำเทคนิคที่มีประโยชน์ในการฝึกไดอะล็อคที่นอกเหนือจากการฟัง
ซึ่งจะได้รวมแบบฝึกหัดและตัวอย่างจากประสบการณ์จริงมาแลกเปลี่ยนกันต่อไป...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น