Dialogue ถูกนำเสนอเป็นทางการครั้งแร กโดย David Bohm(1927-1992) นักวิทยาศาสตร์สาขาควอนตั้ม ฟิสิกส์ชาวอังกฤษเชื้อสายอเ มริกัน เขาเป็นทั้งนักจิตวิทยาและนักปรัชญา เป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่ง ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ในวิชาชีพของเขา โบห์มนั้นตระหนักอยู่เสมอว่ า เหล่านักวิทยาศาสตร์ ผู้ฉลาดปราดเปรื่องทั้งหลาย ในโลก เมื่อต้องมาประชุมหารือร่วม กันแล้ว โดยมากมักจะเกิดความขัดแย้ง ที่ไม่อาจหาข้อยุติหรือมติเอกฉันท์ได้
สาเหตุหนึ่งก็คือ ความเห็นที่ว่าความคิดตนนั้ นถูกเสมอ จึงไม่ได้เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ละคนต่างคอยจะจับผิดและห าข้อโต้แย้งเพื่อทำลายทฤษฎี ของอีกฝ่าย
ซึ่งในภาวะแบบนี้ นอกจากจะก่อให้เกิดความขัดแ ย้งด้วยการถกเถียงกันแล้ว ยังจะไม่เอื้อต่อพื้นที่แห่ งการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่เกิดการผลิตความคิดสร้าง สรรค์ และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้ โบห์มจึงเสนอ กระบวนการสนทนา แบบกลุ่มซึ่งเน้นการรับฟังอ ย่างเปิดใจ ซึ่งเรียกว่า “ไดอะล็อค”
ในการที่จะเข้าใจความหมายขอ งไดอะล็อคได้นั้น ต้องสามารถแยกแยะได้ก่อนว่า กระบวนการใด ไม่ใช่ไดอะล็อค
ไดอะล็อคไม่ใช่การเสนอความคืดเห็น ไม่ใช่การอภิปราย ไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ใช่การวินิจฉัยเพื่อประเ มินความเป็นไปได้ ไม่ใช่การประชุมที่มีคำตอบล่วงหน้า ไม่ใช่การพยายามโน้มน้าว หรือการนำเสนอให้ใครคล้อยตา ม ไม่ใช่การสอนสั่ง พิสูจน์ว่าใครถูกหรือผิด
ซึ่งที่กล่าวมา กิจกรรมเหล่านั้น ก็เปรียบเสมือนกับเราเล่นตี ปิงปอง โดยที่ต่างฝ่ายต่างโยนความคิดเห็นของตนใส่กันแล้วตีตอบ โต้กันไปมา
แม้ว่าเรามักจะใช้การสนทนารูปแบบเหล่านี้อยู่ในชีวิตปร ะจำวัน แล้วมันก็ให้คุณค่าพอสมควร แต่กระบวนการไดอะล็อคนั้น จะพาเราลงลึกเข้าไปในความคิ ดและจิตใจของแต่ละคน
เน้นให้เราฝึกการห้อยแขวน คำตัดสิน คำวิพากษ์วิจารณ์ของเราไว้ก่อน แล้วให้ “ฟัง” อย่างเปิดใจ โดยไม่ขัดและไม่พูดแทรก จนกว่าผู้พูดจะแสดงความคิดเ ห็นของเขาจนจบ
กติกาพื้นฐานนี้เองทำให้การ พูดคุยในวงไดอะล็อคเป็นไปอย่างลื่นไหล ไม่ก่อให้เกิดการขัดแย้งแย่ งกันพูด ไม่ต้องปกป้องตนเอง ไม่ต้องถกเถียงทะเลาะกันอย่ างในบทสนทนาหรือการประชุมทั่วไปๆ
ความหมายของไดอะล็อค มีความลึกซึ้งในทางภาษาและท างความหมาย ซึ่งจะขอขยายต่อในตอนหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น